top of page
  • psrwbiz

3 ขั้นตอนการสร้างพาร์ทเนอร์ธุรกิจให้สำเร็จ


การสร้างพาร์ทเนอร์ธุรกิจเป็นวิธีหนึ่งที่ช่วยให้ธุรกิจเติบโตและเข้าถึงลูกค้าใหม่ ๆ ผ่านธุรกิจของพาร์ทเนอร์ของเราได้ หรือในทางกลับกันพาร์ทเนอร์ของเราก็สามารถเติบโตและเข้าถึงลูกค้าใหม่ ๆ จากเราได้เช่นกัน แต่หากผู้ประกอบการท่านใดที่อยากจะสร้างพาร์ทเนอร์ธุรกิจแต่ยังไม่แน่ใจว่าเริ่มยังไง บทความนี้จะมาแนะนำทีละขั้นตอนให้คุณนำไปปรับใช้กับธุรกิจได้เลย

การสร้างพาร์ทเนอร์ธุรกิจคืออะไร ?

มันคือการที่เรามีธุรกิจของเราอยู่แล้ว และเราต้องการหาธุรกิจอื่น ๆ เพื่อเข้ามาเป็นผู้ช่วยธุรกิจของเราในด้านใดด้านหนึ่ง เสมือนกับการหาเพื่อนเพื่อมาช่วยทำงานกลุ่ม

3 ขั้นตอนการสร้างพาร์ทเนอร์ธุรกิจ

1.เข้าใจเป้าหมายขององค์กรของคุณ

ตอบให้ได้ก่อนว่า Vision หรือวิสัยทัศน์ ขององค์กรของคุณคืออะไร องค์กรของคุณถูกสร้างมาเพื่อเหตุผลอะไร การเข้าใจสิ่งนี้จะถูกใช้เป็นโจทย์เพื่อหาสร้างพาร์ทเนอร์ธุรกิจ

2.เลือกธุรกิจหรือองค์กรที่มีเป้าหมายแบบเดียวกัน

ลองเริ่มจากการนึกถึงตัวลูกค้าของคุณเองว่าอะไรจะทำให้ลูกค้าของคุณมีชีวิตที่ดีขึ้นได้บ้าง อะไรจะสามารถเข้าไปเติมเต็มพวกเขาได้บ้างในสิ่งที่เราไม่สามารถให้ได้ นั่นคือวิธีการคิดให้เห็นว่าธุรกิจที่ให้สินค้าหรือบริการแบบไหนจะสามารถเข้ามาเป็นพาร์ทเนอร์ธุรกิจกับเราได้ เช่น ธุรกิจ The Spidery เป็นธุรกิจที่ให้บริการด้านการตลาดกับเจ้าของธุรกิจเป็นหลัก เรามองเห็นว่าเจ้าของธุรกิจบางรายจำเป็นจะต้องใช้บริการด้านการทำบัญชี เราจึงมองหาธุรกิจที่ให้บริการด้านการทำบัญชีที่มีเป้าหมายเดียวกับเราคือการช่วยให้ลูกค้าของเราเติบโตอย่างยั่งยืนในธุรกิจที่พวกเขาทำ คุณจะเห็นได้ว่าเป้าหมายเราเหมือนกัน แต่แนวทางในการแก้ปัญหาของเราที่มอบให้กับลูกค้าจะไม่เหมือนกัน

3.หาความต้องการของพาร์ทเนอร์

มองกลับไปที่ธุรกิจของคุณก่อนว่าคุณมีทรัพยากรอะไรบ้างที่สามารถใช้เพื่อเป็นประโยชน์กับพาร์ทเนอร์ของคุณ หลังจากนั้นคุณก็ติดต่อไปหาพาร์ทเนอร์ที่คุณสนใจเพื่อสอบถามหาความต้องการ ปัญหาที่เขาต้องการแก้ หรือสิ่งที่พวกเขาอยากพัฒนา เมื่อใดคุณรู้แล้วว่าพวกเขามีสิ่งที่คุณสามารถให้ความช่วยเหลือได้ เมื่อนั้นคุณก็สามารถทำข้อเสนอหรือสัญญาในการเป็นพาร์ทเนอร์ร่วมกันได้ และอย่าลืมว่าพวกเขาก็ต้องมีสิ่งที่จะเป็นประโยชน์ต่อธุรกิจคุณเช่นกัน



ตัวอย่างรูปแบบการทำพาร์ทเนอร์

  • Co-marketing : ธุรกิจนำสินค้าหรือบริการมาส่งเสริมหรือรวมกัน ตัวอย่างเช่น Frito Lay และ Taco Bell ที่นำสินค้าขายดีมาออกรสชาติใหม่เพิ่มเพิ่มยอดขาย

  • Affiliate: การมีตัวแทนเพื่อขายสินค้าหรือบริการให้กับเรา เมื่อพวกเขาขายสินค้าหรือบริการของคุณได้ พวกเขาก็จะได้ค่าตอบแทนเป็นรายได้ ตัวอย่างที่มีให้เห็นได้ชัดคือแบรนด์สินค้า Amway

  • Dealership : การมีนายหน้ากระจายสินค้าของเราไปในช่องทางจำหน่ายต่าง ๆ พวกเขาอาจซื้อสินค้าของคุณไปขายต่อหรือรับเปอร์เซ็นจากการขายสินค้าของคุณ

อาจมีตัวอย่างแบบอื่นอีกหลายแบบ สิ่งที่สำคัญคือคุณควรเข้าใจธุรกิจของตัวเองให้มาก ๆ เพื่อที่จะเจรจากับพาร์ทเนอร์และเลือกวิธีการทำงานร่วมกันให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากมีคำถามหรือข้อโต้แย้งสามารถคอมเมนต์แลกเปลี่ยนกันได้เลย หากชอบคอนเทนต์แบบนี้ฝากกดแชร์เพื่อเป็นประโยชน์กับเพื่อน ๆ ที่กำลังสนุกกับการทำธุรกิจแล้วเติบโตไปด้วยกัน


ขอขอบคุณรูปภาพจาก Pinterest

และบทความจาก Webfx

ดู 1 ครั้ง0 ความคิดเห็น

Comentarios


bottom of page