top of page
psrwbiz

5 ขั้นตอนก่อนตั้งราคาสินค้าและบริการ


การตั้งราคาให้กับสินค้าหรือบริการของเราก็เป็นเรื่องที่สำคัญที่เราควรให้เวลากับมันในการหาข้อมูลมาตอบคำถามว่าราคาเท่าไหร่ที่เราควรให้มันเป็น เพราะมันจะส่งผลหลาย ๆ อย่างกับธุรกิจ และไม่มีลูกค้าคนไหนที่จะอยากจ่ายเงินให้กับสินค้าหรือบริการที่ตัวเองรู้ว่ามันแพงมากกว่าปกติ หรือบางครั้งลูกค้าก็กังวลว่าราคาของสินค้าหรือบริการที่ถูกเกินไปนั้นจะทำให้ไม่ได้คุณภาพ บทความนี้ก็เลยจะมาให้ขั้นตอนต่าง ๆ ที่คุณนำไปใช้ในการตั้งราคาสินค้าและบริการของคุณเอง


1. คำนวณต้นทุนของคุณ

การคำนวณต้นทุนได้ครบถ้วนและแม่นยำจะช่วยให้คุณตั้งราคาที่ไม่ทำให้คุณขาดทุนในระยะยาว พยายามคำนวณทุกปัจจัยที่ใช้ในการดำเนินธุรกิจ คุณใช้อะไรบ้างในการสร้างสินค้าหรือบริการของคุณ ก่อนนำมาขายให้กับลูกค้า ตัวอย่างเช่น เวลา ค่าจ้างพนักงาน ภาษี หรือค่าเช่าที่ เป็นต้น

2. . เข้าใจตลาดเป้าหมายของคุณ

สำรวจและวิเคราะห์คู่แข่งของคุณ ดูว่าพวกเขาตั้งราคาเท่าไหร่ในสินค้าหรือบริการที่คุณภาพที่พอ ๆ กับของเรา รวมทั้งสำรวจและวิเคราะห์กลุ่มลูกค้า ดูว่าพวกเขาจ่ายไหวมากที่สุดที่ราคาเท่าไหร่ และคำนวณต้นทุนต่าง ๆ ในการดำเนินธุรกิจทั้งทางตรงและทางอ้อมให้ดี หลังจากนั้นเราก็มาตัดสินใจว่าจะตั้งราคาอย่างไร

3. เลือกวิธีการตั้งราคา

การตั้งราคาทำได้หลายวิธี เช่น ตั้งราคาอิงจากต้นทุน ตั้งราคาอิงจากราคาของคู่แข่งในท้องตลาด ตั้งตามคุณค่าของสินค้า(ตีเป็นมูลค่าที่ลูกค้าจะได้รับ) เป็นต้น

หรือใช้กลยุทธ์การตั้งราคา(Pricing Strategy Matrix)

  • Skimming Pricing : การตั้งราคาที่สูงกว่าคุณภาพของสินค้า เพื่อเน้นกำไรมากกว่ายอดขาย และเริ่มลดราคาสินค้าลงในภายหลัง เหมาะกับสินค้าที่มีวงจรชีวิตผลิตภัณฑ์สั้น

  • Premium Pricing : การตั้งราคาสูงให้กับสินค้าคุณภาพสูง เพื่อสร้างภาพลักษณ์ที่สะท้อนความพิเศษของสินค้าและแบรนด์ที่มีคุณภาพ

  • Economy Pricing : การตั้งราคาต่ำให้กับสินค้าคุณภาพต่ำ เพื่อการแข่งขันแย่งชิงส่วนแบ่งการตลาด

  • Penetration Pricing : การตั้งราคาต่ำให้กับสินค้าคุณภาพสูง เพื่อใช้ราคาในการดึงดูดลูกค้าใหม่ ๆ ให้มาซื้อสินค้าให้มากขึ้น และเริ่มขึ้นราคาให้เทียบเท่าคู่แข่งในภายหลัง

4. ใช้หลักจิตวิทยาเข้าช่วย

บางครั้งราคาเราอาจจะไม่สามารถแตกต่างจากคู่แข่งของเราได้มากนัก ลูกเล่นเหล่านี่ก็จะเข้ามาช่วยทำให้ราคาของเราดูน่าสนใจมากยิ่งขึ้น

  • ตั้งราคาให้ลงท้ายด้วยเลข 9 : ปกติเราอาจจะตั้งราคาที่ 100 บาท แต่ถ้าหากตั้งราคาเป็น 99 บาท มันก็จะช่วยให้สินค้าหรือบริการดูถูกลงมาได้

  • ตั้งราคาให้คำนวณง่าย : ปกติคุณอาจตั้งราคาที่ 5,432 บาท ลองตั้งให้เลขกลม ๆ ดูสิ 5,400 บาท ช่วยให้คนซื้อไม่เหนื่อยคำนวนราคา ซื้อง่ายขายคล่อง

  • ตั้งราคาให้จำนวนพยางค์น้อยกว่า : ปกติคุณอาจตั้งราคาที่ 27.75 บาท (ยี่-สิบ-เจ็ด-บาท-เจ็ด-สิบ-ห้า-สตางค์) ลองตั้ง 27.50 (ยี่-สิบ-เจ็ด-บาท-ห้า-สิบ-สตางค์) ช่วยให้ลูกค้าคิดน้อยลง

  • นำเสนอตัวเลขเป็นราคาต่อหน่วย : ปกติคุณอาจตั้งราคาที่ 500 บาท ซึ่งจะได้สินค้าจำนวน 10 ชิ้น คุณอาจจะนำเสนอตัวเลขว่า "ราคาเฉลี่ยตกเพียงชิ้นละ 50 บาทเท่านั้น"

5. หาจุดคุ้มทุน

หากคุณได้คำนวณต้นทุนจากค่าใช้จ่ายต่าง ๆ สำรวจราคาคู่แข่ง และตั้งราคาเบื้องต้นเป็นที่เรียบร้อย ลำดับต่อไปคือหาจุดคุ้มทุนที่จะเป็นตัวบอกคุณว่าคุณต้องขายมากน้อยแค่ไหนถึงจะทำให้คุณไม่ขาดทุนและทำให้คุณได้กำไร ถ้าหากคำนวณแล้วมันดูจะเป็นไปได้ยาก คุณควรกลับไปเริ่มขั้นตอนแรก ไม่ฉะนั้นคุณจะมีปัญหาตามมาอย่างแน่นอน

*ข้อแนะนำ : อัพเดทข้อมูลอยู่ตลอดเวลา

หมั่นสอดส่องคู่แข่งของคุณว่ามีการปรับเปลี่ยนอะไรหรือไม่ พูดคุยแลกเปลี่ยนกับลูกค้าของคุณเกี่ยวกับความคิดเห็นของพวกเขาในเรื่องของราคากับความคุ้มค่าที่พวกเขาได้รับกลับไป เพื่อคุณจะปรับตัวได้ทันสถานะการณ์ต่าง ๆ ของการแข่งขันในตลาดของคุณ


ขอขอบคุณบทความดีๆจาก Marketingdonut

ดู 1,001 ครั้ง0 ความคิดเห็น

Comments


bottom of page